Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก

ตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การถนอมดวงตาไว้ใช้งานได้นานและอยู่ในสภาพ ดีที่สุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติดังนี้

  1. อย่าใช้สายตานานเกินควร ถ้าจำเป็นควรพักสายตาบ่อยๆ
  2. การอ่านหนังสือ ต้องมีแสงสว่างเพียงพอ ควรมีแสงส่องจากทางซ้าย ค่อนไปหลังเล็กน้อย ตาควรห่างจากหนังสือประมาณ 1 ฟุต
  3. การดูโทรทัศน์ ควรดูในห้องที่มีแสงสว่างพอสมควร และ ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ ประมาณ 5 เท่าของของขนาดโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์ขนาด 14 นิ้ว (วัดทแยงมุม) ควรนั่งห่างจากโทรทัศน์ 14x5 = 70 นิ้ว หรือ 70/12 = 5.83 ฟุต หรือ ประมาณ 6 ฟุต
  4. เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา อย่าใช้มือขยี้ตา ควรใช้น้ำสะอาด หรือ น้ำยาล้างตาล้างเอาฝุ่นออก
  5. หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้า เช่น ดวงอาทิตย์ ของสีขาวที่อยู่กลางแดดเพราะจะทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อมได้
  6. ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดกับตาได้ เช่น อย่าให้ของแหลมอยู่ใกล้ตา ไม่เล่นขว้างปาหรือยิงหนังยางใส่กัน
  7. ไม่ควรใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่นแว่นตา ผ้าเช็ดหน้า เพราะอาจติดเชื้อได้
  8. เวลานอนควรปิดไฟ เพื่อให้ดวงตาได้พักผ่อนเต็มที่
  9. ควรกินอาหารที่ให้วิตามินเอประจำ เช่น ไข่ นม น้ำมันตับปลา ผักผลไม้สีเหลือง เป็นต้น
  10. เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา เช่น มองเห็นภาพไม่ชัด ตาบวม คันตา ฯลฯ ควรปรึกษาจักษุแพทย์

วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อสุขภาพตา

วิตามินซี : มีผลต่อทุกส่วนของร่างกาย ช่วยให้หลอดเลือดฝอยและผนังเซลล์แข็งแรง ช่วยสร้างคอลลาเจน ช่วยให้แผลหายเร็ว ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารดีขึ้น ช่วยป้องกันต้อกระจก และป้องกัน เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Eye disease)
อาหารที่ให้วิตามินซี ได้แก่ ผลไม้รสเปรี้ยว ฝรั่ง สตรอว์เบอรี่ ผัก เช่น บรอกโคลี ผักใบเขียว พริกแดง เป็นต้น

วิตามินอี : มีผลต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย มีหน้าที่ปกป้องเยื่อบุเซลล์ ช่วยให้ร่างกายดึงวิตามินเค และ ซิลิเนียมมาใช้ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ อาจชะลอหรือป้องกันต้อกระจกได้ ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ชะลอความชรา
อาหารที่ให้วิตามินอี ได้แก่ ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ จมูกข้าวสาลี น้ำมันพืช เมล็ดพืช เช่น เมล็ดทานตะวัน อัลมอนด์

แคโรทีนอยด์ (carotenoid) : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติที่ช่วยต้านทานโรค มีหลายชนิด ที่จำเป็นต่อตา ได้แก่
                 เบตาแคโรทีน (beta-carotene) จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ช่วยการมองเห็นในที่มืด
                 ลูทีน (lutein) ซีเซนทีน (zeaxanthin) ช่วยให้สายตาดีขึ้นโดยดูดซับรังสีอัลตราไวโอเล็ตที่เป็นอันตรายจากแสงแดด อาจป้องกันการทำลายเลนส์ตา ป้องกันการเกิดจอประสาตาเสื่อม ลดความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจก
อาหารที่มีแคโรทีนอยด์  ได้แก่ ผักและผลไม้สีสด เช่น แดง ส้ม และเหลือง เช่น ฟักทอง แครอท เบอร์รี แตงโม พริกแดง เป็นต้น

ทองแดง (copper) : เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างคอลลาเจน มีส่วนในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และช่วยให้ร่างกายดึงธาตุเหล็กที่สะสมไว้มาใช้
อาหารที่ให้ทองแดง  ได้แก่ ปลาเล็กปลาน้อย หอยนางรม ปู ผัก ผลไม้ เช่น เห็ด มันฝรั่ง มะเขือเทศ กล้วย ลูกพรุน เป็นต้น

ซิลิเนียม (selenium) : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม โดยจะทำงานร่วมกับวิตามิน C และ E
อาหารที่ให้ซีลีเนียม  ได้แก่ อาหารทะเล เนื้อสัตว์ต่างๆ  ข้าวซ้อมมือ  ผักบางชนิด เช่น เห็ด กะหล่ำปลี บร็อกโคลี

สังกะสี (zinc): มีอยู่ในเอนไซม์มีหลายชนิด ซึ่งจำเป็นต่อหลายกระบวนการในร่างกาย เช่น การย่อยอาหาร การเติบโตของเซลล์ ระบบภูมิคุ้มกัน การผลิตฮอร์โมนต่างๆ ช่วยชะลอการสูญเสียการมองเห็นในผู้ที่มีจอประสาทตาเสื่อม (ARMD)
อาหารที่ให้สังกะสี  ได้แก่ อาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ตับ เนื้อเป็ด ไข่ หอยนางรม เนยแข็ง และ ถั่ว

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook