Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก

รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานการดูแลหลังเกิดเหตุ

1. ดำเนินการเฝ้าระวังสุขภาพผู้สัมผัส / ผู้ป่วยจากเหตุการณ์ การจัดทำรายงาน เพื่อรวบรวมเป็นฐานข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดย
  • การจัดทำทะเบียนผู้สัมผัส
- พนักงานของสถานที่เกิดเหตุ
- เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ เจ้าหน้าที่กู้ภัย กู้ชีพ บุคลากรฉุกเฉิน
- ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
- ประชาชนทั่วไป
  • ออกแบบการเฝ้าระวังสุขภาพ
- ตัวชี้วัดสุขภาพที่ควรใช้ในการเฝ้าระวัง เช่น ระดับสารเคมีในเลือด การถ่ายภาพรังสีปอด
- ระยะเวลาและความถี่ที่เหมาะสมในการเฝ้าระวังสุขภาพ
- ค่าใช้จ่ายและแหล่งงบประมาณในการเฝ้าระวังสุขภาพ

2. สอบสวนเหตุการณ์ ใช้หลักการสอบสวนโรค เพื่อการหาสาเหตุ  และวางมาตรการเชิงป้องกันต่อไป โดยควรที่จะประสานความร่วมมือในการสอบสวนเหตุร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ และโรงงานที่เกิดเหตุเอง  และรายงานผลให้กับผู้บังคับบัญชาทราบ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการป้องกันการเกิดเหตุ โดยเฉพาะประเด็นต่อไปนี้ คือ
  • เหตุการณ์ครั้งเกิดขึ้นได้อย่างไร
- วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ ที่อาจเป็นต้นเหตุ
- เกิดจากเครื่องจักร อุปกรณ์ ระบบควบคุม พนักงานที่เกี่ยวข้องหรือสภาพแวดล้อม
  • ระบบการป้องกันการเกิดอุบัติภัยสารเคมี ของสถานที่เกิดเหตุ มีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ โดยเฉพาะ
  • - การบำรุงรักษาเครื่องจักร อุปกรณ์
    - การตรวจสอบและเฝ้าระวังจุดเสี่ยง
  • แผนรับอุบัติภัยสารเคมีของสถานที่เกิดเหตุ มีหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่ ซ้อมแผนหรือไม่

3. จัดเวทีทบทวนการดำเนินการ (After Action Review - AAR) เพื่อสรุปการดำเนินการและหาประเด็นปรับปรุงการดำเนินการ

  • การดูแล / สัมผัสผู้ป่วย
- จัดทำทะเบียนได้ครบถ้วนหรือไม่
- การคัดแยกผู้สัมผัส และการขนส่ง ณ จุดเกิดเหตุ จุดอพยพ
- การคัดแยกและให้การรักษาพยาบาล ณ ห้องฉุกเฉิน
- การสนับสนุนข้อมูลพิษวิทยาและการป้องกันการสัมผัสแก่ทีมปฏิบัติการ
- การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพต่อเนื่องหลังเกิดเหตุ
  •  การประสานของทีมสาธารณสุข
- การแจ้งเหตุ แจ้งไปที่ใคร เร็วแค่ไหน
- การประสานข้อมูลผู้สัมผัส / ผู้ป่วย ระหว่างทีมเผชิญเหตุกับห้องฉุกเฉินทุกแห่ง

4. ปรับแผน
  • ผนของทีมสาธารณสุข
  • แผนป้องกันและรองรับอุบัติภัยสารเคมีของหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

5. การประเมินระบบการเผชิญเหตุอุบัติภัยสารเคมี จัดการประชุมเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน การถอดบทเรียน และการปรับปรุงระบบการเตรียมความพร้อมในส่วนที่ยังไม่เป็นไปตามแผนหรือตามมาตรฐาน

6. ให้ข้อเสนอแนะ (จากผลการสอบสวน) แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุ เช่นสาธารณสุขอำเภอ, โรงพยาบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,  สถานประกอบการ

การรายงานผล

     มีการประชุมรายงานสรุปผลเบื้องต้นหลังเกิดอุบัติเหตุทุกครั้ง รายงานแก่ผู้บังคับบัญชา

 

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook