Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก

กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน

  • งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

       เมื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 1และ 2
       หัวหน้าเวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีหน้าที่ดังนี้

1.   รายงานแพทย์เวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  เพื่อประกาศใช้แผนในกรณีแพทย์เวรไม่ได้
อยู่ในพื้นที่พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  สามารถตัดสินใจประกาศใช้แผนอุบัติภัย
และสาธารณภัย1และ 2ได้
2.   ประสานงานกับพนักงานประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 1  
และ 2
3.  แจ้งเจ้าหน้าที่ทุกระดับในหน่วยงานและศูนย์เปลเพื่อเตรียมรับสถานการณ์
4.  รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น
5.  จัดสถานที่และเตรียมอุปกรณ์ช่วยชีวิตให้พร้อม ถ้าพื้นที่ในห้องฉุกเฉินไม่เพียงพอให้ใช้
พื้นที่หลังห้องบัตรเพิ่ม
6.   จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอ นอกเวลาราชการถ้าพบปัญหา  หัวหน้าเวรรายงาน
หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน   ยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นหัวหน้าเวรประสานงานกับ
เจ้าหน้าที่ห้องยา
7.   จัดทีมหน่วยกู้ชีพไปยังจุดเกิดเหตุที่ปลอดภัยตามสถานการณ์

เมื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 3
         หัวหน้าเวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีหน้าที่ดังนี้

1.   รายงานแพทย์เวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินถึงสถานการณ์และจำนวนผู้บาดเจ็บในขณะนั้น เพื่อพิจารณาประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 3
2.   ประสานงานกับพนักงานประชาสัมพันธ์เพื่อประกาศใช้แผนอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน 3
3.   แจ้งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจัดพื้นที่พร้อมรับสถานการณ์กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าใน  บริเวณรักษาพยาบาลจัดพื้นที่บริเวณแผนกผู้ป่วยนอกเคลื่อนย้ายเก้าอี้ออกไปจากบริเวณ นั้น
4.   แจ้งเจ้าหน้าที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินทุกคนรับทราบและรายงานตัวที่ศูนย์อำนวยการ
5.   พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  สั่งการให้พยาบาลวิชาชีพจัดเตรียม อุปกรณ์และ รับผิดชอบประจำพื้นที่สีเหลือง สั่งการให้ผู้ช่วยเหลือคนไข้จัดเตรียมอุปกรณ์ประจำพื้นที่สี เขียว
  • พยาบาลวิชาชีพ  มีหน้าที่ดังนี้
1.   ให้ IV Fluid
2.   เตรียมยาและให้ยาที่จำเป็นตามแผนการรักษาของแพทย์
3.   เป็นหัวหน้าทีม CPR และดูแลผู้ป่วยหนัก
4.   เย็บบาดแผลหรือช่วยแพทย์ทำหัตถการพิเศษ
5.   เมื่อวัสดุการแพทย์ไม่เพียงพอรายงานหัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉินจัดหาวัสดุการแพทย์
เพิ่มเติม
6.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  จัดพยาบาลนำส่งผู้บาดเจ็บสาหัสไปหอ
ผู้ป่วยใน/ส่งต่อ พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
7.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ตรวจสอบการลงทะเบียนภายหลังแผนฯยุติ
8.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ตรวจสอบทรัพย์สินมีค่าของ ผู้บาดเจ็บ
ทั้งหมดบันทึกในสมุดของมีค่า
9.   พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  เขียนรายงานอาการในสมุดรายงานอาการ
ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
10.  พยาบาลหัวหน้าทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  บันทึกแบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุ
11. ตามของใช้เวชภัณฑ์ต่างๆคืนห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  เมื่อเข้าสู่สภาวะปกติ
  • เวชกรฉุกเฉิน  มีหน้าที่ดังนี้
1.   เตรียม IV Fluid และช่วยเตรียมอุปกรณ์การให้ IV Fluid
2.   ทำหน้าที่เป็น Circulate
3.   ตรวจบันทึกสัญญาณชีพและสัญญาณประสาท
4.   ชำระล้างบาดแผลและหัตถการตามความจำเป็น
5.   จัดเตรียมอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องการใช้
6.   ออกปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ /ส่งต่อผู้ป่วย
7.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
  • ผู้ช่วยเหลือคนไข้/ลูกจ้าง   มีหน้าที่ดังนี้
1.  เตรียมความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้ ให้เพียงพอ
2.  ดูแลความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้
3.  ชำระล้างบาดแผลตามความจำเป็น
4.  เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
5.  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมี

1.  พยาบาลวิชาชีพประสานงานกับพยาบาลศูนย์รักษาพิษฯเพื่อขอสนับสนุนข้อมูลของสารเคมีเพื่อการรักษาผู้บาดเจ็บและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร.1367หรือศูนย์ พิษวิทยา ร.พ.ศิริราช โทร 02-419-7007 หรือhttp://drug.nhso.go.th/Antidotes/

ทีมล้างตัวผู้บาดเจ็บ   และการเปลี่ยนทีม

**  ทีมสำหรับล้างตัวผู้บาดเจ็บ     คือ  ทีมห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ประกอบด้วย 
พยาบาลวิชาชีพ             1        คน 
เวชกรฉุกเฉิน                 1        คน
พนักงานศูนย์เปล            1        คน

**  ต้องมีการเปลี่ยนทีมที่ล้างตัวทุกครึ่งชั่วโมง  ครั้งละ 1 คน

ขั้นตอนการปฏิบัติการ EMS สารเคมี ณ จุดเกิดเหตุ

1. การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่หรือออกไปยังจุดเกิดเหตุต้องได้รับทราบข้อมูลชนิดและ อันตรายของสารเคมี การป้องกันอันตรายของเจ้าหน้าที่ ทิศทางการพัดของลม ต้องทราบจุด หรือตำแหน่งที่ปลอดภัยและผู้ประสานงาน ณ จุดเกิดเหตุได้แก่ ชื่อ- สกุล เบอร์ โทรศัพท์ที่ สามารถติดต่อได้ 2. การออกปฏิบัติงานนอกสถานที่หรือออกไปยังจุดเกิดเหตุต้องรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ ขั้น (นอกเวลาราชการรายงานแพทย์เวร) และรอคำสั่งอนุญาตจากผู้อำนวยการหรือ ผู้ทำการแทนก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
3. เมื่อออกปฏิบัติการและไปถึงจุดเกิดเหตุต้องให้รายงานตัวกับผู้อำนวยการในภาวะฉุกเฉิน (ED) EMERGENCY DIRECTOR
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ ให้พร้อม ได้แก่ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ยาและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ล้างตา ออกซิเจน ชุดป้องกันสารเคมี ถุงมือและรองเท้าบู๊ตป้องกันสารเคมี ผ้ายางหรือถุง พลาสติก ชนิดมีซิปหุ้มร่างกายผู้บาดเจ็บทั้งตัว ถุงพลาสติกเพราะผู้บาดเจ็บอาจมีอาการอาเจียน
5. พนักงานขับรถและทีมแพทย์ พยาบาลที่เข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บควรสวมชุดป้องกันอันตราย ส่วนบุคคล
6. เมื่อหน่วยบริการพยาบาลช่วยเหลือ ณ จุดเกิดเหตุ (EMS) ถึงจุดปฏิบัติการแล้วต้อง รายงาน กลับมายังห้องฉุกเฉินเกี่ยวกับลักษณะของเหตุการณ์ ความรุนแรงจำนวน ผู้ได้รับบาดเจ็บ หน่วยงานที่เข้าไปช่วยเหลือ สารเคมีที่เกี่ยวข้องเท่าที่ทราบ
7. หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ การช่วยเหลือระบบหายใจ การให้สารน้ำ การลดความ เจ็บปวด และผู้บาดเจ็บจากสารเคมีควรได้รับการล้างตัวตามความเหมาะสม และถอดเสื้อผ้า ที่ปนเปื้อนสารเคมีออกและใช้ผ้ายางหรือถุงพลาสติกชนิดมีซิปห่อหุ้มร่างกายผู้บาดเจ็บโดยให้ คลุมตั้งศีรษะถึงปลายเท้า เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโดยใช้อุปกรณ์การเคลื่อนย้ายที่เหมาะสม
8. เปลเข็นนอนที่นำส่งผู้บาดเจ็บต้องได้รับการปูด้วยพลาสติกหรือห่อตัวผู้บาดเจ็บด้วยพลาสติก
9. ขณะนำส่งผู้บาดเจ็บต้องให้ออกซิเจน100% ตลอดเวลา(ยกเว้นสารเคมีที่มีข้อห้ามในการให้ ออกซิเจน เช่น พาราควอท ) และถ้ามีถังออกซิเจนสำรองอยู่ในรถพยาบาลให้นำถังออกซิเจ ไว้ที่จุดเกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรายอื่น
10. รถนำส่งผู้บาดเจ็บต้องได้รับการชำระล้างก่อนนำไปใช้ต่อไป ฉีดล้างทำความสะอาดภายใน และเปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศให้แห้ง
11. ทีมพยาบาลและพนักงานขับรถควรได้รับการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติหลังจากปฏิบัติงานแล้ว

บทบาทของทีมกู้ชีพชุดแรกเมื่อไปถึง ณ จุดเกิดเหตุ
หัวหน้าทีม

  1. ทำหน้าที่เป็นcommander ประเมินสถานการณ์ตัดสินใจประกาศสถานการณ์และรายงานMETHANE มายังศูนย์สั่งการ
    M: Major incident            : เป็นเหตุการณ์สาธารณภัยหรือไม่
    E : Exact location           : สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน
    T : Type of accident        : ประเภทของสาธารณภัย
    H : Hazard                    : มีอันตรายหรือเกิดอันตรายอะไรบ้าง
    A : Access                    : ข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกจากที่เกิดเหตุ
    N : Number of casualties  : จำนวนและความรุนแรงของผู้บาดเจ็บ
    E : Emergency service     : หน่วยฉุกเฉินไปถึงหรือยังและต้องการความช่วยเหลืออะไรอีกบ้าง
  2. สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
  3. เลือกพื้นที่ที่จะเป็นที่จอดรถพยาบาลฉุกเฉิน
  4. พิจารณาตัดสินใจว่าจะต้องระดมทรัพยากรมากน้อยแค่ไหนมาสนับสนุน
  5. กำหนดพื้นที่ปฏิบัติการหน่วยปฐมพยาบาลในพื้นที่cold zone รอรับการส่งต่อผู้ป่วยมาจากhot zone และเป็นพื้นที่ที่สามารถปฏิบัติการล้างตัวผู้ป่วยเพิ่มเติมได้
  6. คัดกรองผู้ป่วยส่งต่อตามลำดับความสำคัญตามหลักmedical triage
  • Red tags   : ผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายเสี่ยงต่อชีวิต
  • Yellow tags : ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บหรืออาการที่อาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้
  • Green tags          : ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเล็กน้อย
  • Black tags           : ผู้ที่เสียชีวิตหรือไม่หายใจแล้ว

    ผู้ช่วย/สมาชิกทีม

    1. จอดรถพยาบาลใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุดตามหลักความปลอดภัยโดยหันหน้าออกจากที่เกิดเหตุ
    2. สวมเสื้อคลุมและอุปกรณ์ป้องกันตนเอง
    3. เปิดสัญญาณไฟรถพยาบาลแสดงตำแหน่งจุดสั่งการเพื่อเป็นจุดสังเกตให้ทีมสนับสนุนอื่นๆที่จะมาช่วยเหลือ
    4. แจ้งศูนย์สั่งการว่ามาถึงที่เกิดเหตุแล้วคอยประสานกับหัวหน้าทีมกับศูนย์สั่งการ
    5. อยู่ประจำรถพยาบาลห้ามนำกุญแจออกจากรถพยาบาลไม่ควรดับเครื่องพร้อมเคลื่อนย้ายตลอดเวลาเมื่อเกิดเหตุไม่ปลอดภัย การจัดลำดับชั้นของพื้นที่

    การจัดลำดับชั้นของพื้นที่

           Hot zone :พื้นที่อันตรายคัดแยกผู้ป่วยครั้งที่1 ผู้ปฏิบัติการต้องชำนาญสูงเนื่องจากต้องเข้าออกพื้นที่อย่างรวดเร็วและเท่าที่จำเป็น

           Warm zone :พื้นที่ต้องระวังคัดแยกผู้ป่วยครั้งที่2 ดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้นและเป็นจุดรับผู้ป่วยโดยรถพยาบาลพื้นที่นี้ต้องควบคุมการจราจรและเข้าออกอย่างเคร่งครัดดังนั้นต้องมีเครื่องหมายเสื้อหรือบัตรแสดงตัวชัดเจนตามหลักผู้บัญชาการจุดเกิดเหตุ(field commander) จะปฏิบัติงานในพื้นที่นี้

           Cold zone :พื้นที่ปลอดภัยสำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนและผู้บริหารระดับสูงผู้สื่อข่าวเพื่อติดตามสถานการณ์

    แผนภูมิแสดงตำแหน่งที่ทำtriage

    Triage sieve
        คือการตรวจดูอย่างรวดเร็วเพื่อจัดกลุ่มผู้ป่วยในเบื้องต้นเนื่องจากต้องกระทำอย่างรวดเร็ว และใช้ข้อมูลไม่มากการทำtriage sieve จึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้แต่ก็จะสามารถปรับแก้ไขได้ในภายหลังการทำtriage sieve จะพิจารณาจากผู้ป่วยเดินได้เองหรือไม่การประเมินการประเมินการหายใจชีพจรหรือCapillary refill  ดังแสดงในแผนภูมิ

    แผนภูมิแสดงขั้นตอนของ triage sieve

    Triage sort 
        เมื่อผู้ป่วยมาถึงจุดรักษาพยาบาลหรือในโรงพยาบาลจะถูกทำtriage อีกครั้งหนึ่งซึ่ง ณ จุดนี้จะมีบุคลากรและอุปกรณ์มากขึ้นการทำtriage จะมีการใช้ข้อมูลมากขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า triage sort
        ในขั้นนี้ต้องมีการใช้trauma score มาช่วยในการจัดกลุ่มผู้ป่วยแต่เดิมนั้นtrauma score ประกอบด้วยค่าทางสรีรวิทยา(physiologic parameter) 5 อย่างคือrespiratory rate, respiratory effort, systolic blood pressure, capillary refill และGlasgow coma scale แต่ในปัจจุบันได้ปรับใช้ค่าทางสรีรวิทยาเพียง 3 อย่างเพื่อความสะดวกในทางปฏิบัติโดยเปลี่ยนเป็นrevised trauma score (RTS) หรือtriage revised trauma score (TRTS) ซึ่งใช้respiratory rate, systolic blood  pressure และGlasgow coma scale แล้วปรับค่าที่วัดได้แต่ละตัวเป็นscore  0–4  โดยscore 4 เป็นค่าที่อยู่ในเกณฑ์ปกติลดหลั่นลงมาถึง   0  เป็นค่าที่วัดไม่ได้เลยดังแสดงในตารางการคำนวณคะแนนtriage revised  trauma  score (TRTS)

    ตารางคำนวณคะแนน    triage revised  trauma  score (TRTS)

    เมื่อนำscore ทั้ง 3 มารวมกันจะได้เป็นค่าTRTS ซึ่งมีคะแนนเต็ม 12 การนำTRTS ไปจัดกลุ่มผู้ป่วยดังแสดงในตารางแปลผลค่าTRTS เป็นกลุ่มผู้ป่วยในแต่ละสี

        ข้อดีในการใช้ทำTriage sort  โดยวิธีนี้คือทำได้เร็วแม่นยำสามารถเรียนรู้และนำไปใช้ได้ง่ายอีกทั้งยังเป็นการวัดค่าทางสรีรวิทยาที่ต่อเนื่องจากtriage sieve อย่างไรก็ตามการจัดกลุ่มวิธีนี้บอกได้เพียงว่ากลุ่มใดหนักหรือเบาและต้องการการดูแลรักษาที่รีบด่วนกว่ากันแต่ไม่ได้บอกถึงอวัยวะที่บาดเจ็บซึ่งจะทำให้บอกไม่ได้ว่ารายใดต้องส่งไปยังโรงพยาบาลที่มีแพทย์เฉพาะทางสาขาใด

    การประเมินสถานการณ์แจ้งเหตุแก่ห้องฉุกเฉิน
        เมื่อทีมEMS ไปถึงจุดเกิดเหตุให้มีการประเมินความรุนแรงและแจ้งกลับมายังทีมห้องฉุกเฉินการประเมินเพื่อเตรียมรับเหตุเกิดอุบัติภัยสารเคมีโดยประเมินจาก

    1. จำนวนผู้ป่วยแยกประเภทความรุนแรง (เขียวเหลืองแดง) โดยประมาณ
    2. ชนิดของสารเคมีหรือลักษณะการเกิดเหตุ
    3. ความพร้อมในการล้างตัว ณ จุดเกิดเหตุหรือก่อนส่งต่อมาโรงพยาบาล
    4. ความเพียงพอของรถส่งต่อมาโรงพยาบาล
    5. ในกรณีที่ไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือไม่ให้สงสัยว่าผู้ป่วยที่รับมาจะได้รับการปนเปื้อนจากสารเคมี

    การส่งต่อจากที่เกิดเหตุไปยังโรงพยาบาล
        ในการส่งต่อผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีไปยังบริเวณอื่นจะต้องมีหลักการในการส่งต่อคือ

    1. ทำการล้างตัวผู้ป่วยเสมอเมื่อจะส่งต่อผู้ป่วยข้ามโซนและก่อนนำขึ้นรถส่งต่อ
    2. หากเป็นไปได้ควรมีการเปลี่ยนเสื้อผ้าก่อนส่งต่อโดยเฉพาะรายที่มีการปนเปื้อนมาก
    3. รถส่งต่อควรเปิดโล่งให้มากที่สุดเพื่อการระบายอากาศ

    การทำการคัดกรองด้วย Medical Triage
        วิธีการคัดกรองผู้ป่วย Triageมีดังนี้

    ระบบการคัดแยกผู้ป่วยทางการแพทย์(START Medical Triage System)
    S.T.A.R.T. Category Decon Priority อาการทางคลินิกที่สำคัญ อาการและร่องรอยการถูกสารเคมีพิษ
    IMMEDIATE Red Tag 1 มีลมหายใจหลังเปิดทางเดินหายใจ
    -อัตราการหายใจ>30 ครั้ง/นาที
    -มี Capillary refill ช้ากว่า2 วินาที
    -ระดับการรู้สติไม่ดี
    • อาการและอาการแสดงรุนแรงมาก
    • รู้ชื่อสารพิษที่เป็นของเหลวที่ได้รับ
    DELAYED Yellow Tag 2 มีอาการบาดเจ็บที่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา
    สำหรับการรักษาหรือควบคุมในสถานที่เกิดเหตุ
    • อาการและอาการแสดงรุนแรงปานกลางถึงน้อย
    • รู้ชื่อหรือสงสัยว่าได้รับสารพิษที่เป็นของเหลว
    • รู้ชื่อสารพิษประเภทละอองฝอย
    • อยู่ใกล้กับจุดที่สารพิษรั่วไหล
    MINOR Green Tag 3 ช่วยตัวเองได้(Ambulatory) อาจมีอาการบาดเจ็บ
    เล็กน้อยที่ไม่ต้องการการรักษาทันทีทันใด
    • อาการและอาการแสดงเล็กน้อย
    •ไม่รู้ชื่อสารพิษหรือแค่สงสัยว่าสัมผัสกับไอพิษละอองพิษ
    หรือสารพิษที่เป็นของเหลว
    DECEASED/ EXPECTANT Black Tag 4 หายใจเองไม่ได้แม้เปิดทางเดินหายใจให้แล้ว • อาการและอาการแสดงรุนแรงมากที่สุด
    • ได้รับสารพิษและมีผลต่อระบบประสาท
    • ไม่ตอบสนองต่อยาต้านพิษ

     

    ศูนย์เปล
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้
              1.   ช่วยจัดพื้นที่เพื่อรับผู้บาดเจ็บพื้นที่สีแดง สีเหลือง และกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
              2.   รับผู้ป่วยจากรถส่งต่อผู้ป่วยนอก,เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปจุดคัดกรอง
              3.   เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือเอกซเรย์ตามคำสั่งแพทย์
              4.   เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไปหอผู้ป่วยในหรือกลับบ้านหรือส่งต่อ

    งานเวชระเบียน
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้
              1.   เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งทำหน้าที่บันทึกประวัติผู้บาดเจ็บทำบัตรโรงพยาบาล
              2.   เจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งทำหน้าที่ช่วยจุดคัดกรองผูกบัตรข้อมือ ผู้บาดเจ็บ
              3.   ติดประกาศรายชื่อผู้บาดเจ็บที่บอร์ด

    งานอาชีวอนามัย
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้

    1.  ถ้าเป็นแผนรับอุบัติภัยและสาธารณภัยแผน  1 และ 2 ซึ่งไม่ได้เป็นภัยจากสารเคมีให้   ปฏิบัติงาน ประจำพื้นที่สีเขียว
    2.  กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมีให้ปฏิบัติดังนี้      

    2.1 รับแจ้งข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆร่วมเป็นทีมรักษาผู้ป่วยในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
         2.2 สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวกับอันตรายและแนวทางการปฐมพยาบาล  การรักษาเบื้องต้นให้กับ แพทย์
         2.3 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี  การป้องกันอันตรายจากสารเคมีในขณะ ปฏิบัติงาน
         2.4 กรณีผู้บาดเจ็บต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลร่วมเป็นทีมดูแลผู้บาดเจ็บกับแพทย์เจ้าของ ไข้
         2.5 ตรวจเยี่ยม สอบสวนโรค ให้คำปรึกษาแก่ ผู้บาดเจ็บ/ผู้สัมผัสสารเคมีที่ห้องฉุกเฉิน และ   กรณีที่ผู้บาดเจ็บต้องนอนพักในโรงพยาบาล
         2.6  รวบรวม  จัดทำรายงานส่ง  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

    งานรังสีวิทยา 
    หลังรับทราบการประกาศใช้แผนฯ ให้ปฏิบัติดังนี้
                1. การลงทะเบียน  เขียนบันทึกHospital number และ X-ray number ในบัตรผูกข้อมือ ผู้บาดเจ็บ
                2.  ถ่ายภาพรังสีปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์

    งานประชาสัมพันธ์
    หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
                1.  ถ้าได้รับแจ้งเหตุทางโทรศัพท์ให้โอนสายไปยังจุดแจ้งเหตุห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
                2.  รับรายชื่อผู้บาดเจ็บจากศูนย์อำนวยการจัดพิมพ์ข้อมูลผู้บาดเจ็บหรือตายประกาศให้ผู้มาติดต่อทราบ
                3.  ให้ข้อมูลรายชื่อผู้บาดเจ็บแก่ญาติและผู้มาติดต่อ
                4.  แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจชันสูตรพลิกศพ  ในกรณีผู้เสียชีวิต ได้รับคำสั่งจากศูนย์ อำนวยการ

    งานโภชนาการ
             หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
             จัดเตรียมอาหารและอาหารว่างภายใต้การสั่งการของศูนย์อำนวยการและโภชนาการจะนำ
    อาหารมาส่งที่ศูนย์อำนวยการเมื่อเตรียมอาหารเสร็จ

    กลุ่มงานเภสัชกรรม
    หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
             ฝ่ายเภสัชกรรมกำหนดหน้าที่สนับสนุนการจ่ายยาและเวชภัณฑ์  โดยเปิดห้องยาใหญ่  แยก
    ใบสั่งยากลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อเรียกเก็บตามสิทธิ์  ผู้บาดเจ็บที่ไม่มีสิทธิ์พิเศษให้ชำระเงิน
    ตามปกติ

    หน่วยจ่ายกลาง
              หลังได้รับแจ้งเหตุให้ปฏิบัติดังนี้
                   1.   จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือให้เพียงพอกับความต้องการ
                   2.   สนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือเพิ่มเติม

    การดูแลประชาชน หรือผู้ได้รับผลกระทบจากอุบัติภัยจากสารเคมีมารับบริการหลังเกิดเหตุการณ์
    ดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้ 1.  ในรายที่ไม่ฉุกเฉินให้รับบริการที่ห้องตรวจโรคทั่วไป
    2.  ในรายที่ฉุกเฉินให้รับบริการที่ห้องฉุกเฉิน
    3.  พยาบาลประจำหน่วยงานแจ้งเจ้าหน้าที่งานอาชีวอนามัยทราบเพื่อขอรับข้อมูลสารเคมี เพิ่มเติม การล้างตัว(Decontaminate)

    วัตถุประสงค์และประโยชน์
    1.  เพื่อลดการปนเปื้อนทำให้ผู้บาดเจ็บไม่ได้รับพิษจากสารเคมีที่ติดตัวเพิ่ม  ทำให้พิษเจือจางลง
    เป็นการลดปฏิกิริยาของสารเคมี
    2.  เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของสารพิษไปสู่ผู้รักษาและบุคคลอื่นๆ  และทำให้ห้องฉุกเฉินเป็น
    เขตสะอาด

    ทีมล้างตัว(Decontaminate)
    ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการล้างตัวให้กับผู้บาดเจ็บ ต้องสวมใส่เครื่องมือป้องกันตนเองได้แก่

    1.  ชุดป้องกันสารเคมี
    2.  ผ้าอ้อมพลาสติก
    3.  ถุงมือป้องกันสารเคมี
    4.  แว่นตาป้องกันสารเคมีหรือหมวกที่มีกระจกบังหน้า
    5.  หน้ากากป้องกันสารเคมี
    6.  รองเท้ายางป้องกันสารเคมี

     

    ขั้นตอนการปฏิบัติหลังล้างตัวผู้บาดเจ็บเสร็จแล้ว

    1.  ล้างตัวผู้ปฏิบัติการเริ่มด้วยบริเวณที่ปนเปื้อนมากที่สุด และ Decontaminate เหมือนเป็น
    ผู้บาดเจ็บ แต่ให้สวมชุดป้องกันตัวไว้ก่อน
    2.  จัดเก็บหรือทิ้ง PPE ยังถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้
    3.  จัดเก็บหรือทิ้งเครื่องมือเข้าถุงหรือภาชนะที่เตรียมไว้
    4.  ตรวจร่างกายทีมงาน  หลังจากปฏิบัติงานสำเร็จ

    ขั้นตอนการล้างตัว(Decontaminate)ทั่วไป

    1.  ปลดและจัดเก็บสิ่งของมีค่าของผู้บาดเจ็บ
    2.  ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกใส่ในถุงพลาสติกและปิดปากให้เรียบร้อย
    3.  ถ้ามีบาดแผลให้ใช้น้ำชำระล้าง  ถ้าไม่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในบาดแผลไม่ต้องคุ้ยแล้วปิดไว้
    ด้วยผ้าก๊อต  และล้างตามขั้นตอน
    4.  ล้างตัวด้วยน้ำแรงและมากพอสมควรใช้น้ำสบู่หรือ Hypochlorite และใช้ฟองน้ำหรือแปรงถูตัว  
    เริ่มล้างจากจากศีรษะไปปลายเท้า
    5.  ล้างเท้าก่อนเข้าไปยังบริเวณต่อไปเพื่อไม่ให้นำสิ่งปนเปื้อนเข้าไปด้วย
    6.  เช็ดตัวให้แห้ง
    7.  ให้สวมเสื้อผ้าสะอาดหรือคลุมด้วยผ้าสะอาด

    หลักการสำคัญในการล้างตัวผู้บาดเจ็บ

    1.   ถ้าผู้บาดเจ็บไม่เคยได้รับการล้างพิษให้ทำการล้างพิษเบื้องต้นทันที
    2.   มีสารเคมีหลายชนิดที่เมื่อถูกน้ำแล้วจะมีปฏิกิริยารุนแรง  วิธีที่ดีที่สุดคือใช้น้ำปริมาณมาก ล้าง เอาสารเคมีออกให้หมด  การใช้น้ำปริมาณมากจะทำให้ปฏิกิริยาลดลงหรือไม่เกิดขึ้น  ซึ่งมีข้อดี กว่าปล่อยให้สารเคมีติดอยู่บนตัวของผู้บาดเจ็บ เพราะถ้าไม่ล้างออกสารเคมีจะทำปฏิกิริยากับเหงื่อที่ตัวผู้บาดเจ็บ เอง  จึงจำเป็นต้องเอาสารเคมีออกให้หมด
    3.   ระยะเวลาการล้างผิวหนังหรือตาอาจเปลี่ยนแปลงตามสารเคมีและการสัมผัส  สารที่มีฤทธิ์เป็น
    ด่างรุนแรงอาจต้องใช้เวลานาน  10  ถึง  15  นาที  การสัมผัสกับไอของสารอาจใช้เพียงการล้าง เบาๆ(irrigate)   และใช้เวลาไม่นาน
    4.   การล้างเอาสารที่ไม่ละลายน้ำหรือเป็นน้ำมันที่ติดอยู่บนผิวหนังหรือผมจำเป็นต้องล้างด้วยสบู่ หรือแชมพู  น้ำยาล้างมือ  หรือ น้ำยาล้างจาน  ใช้แปรงที่มีขนอ่อนถูเบาๆ  แปรงขนแข็งจะทำให้ผิวหนังลอก  และทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกายได้  แต่อย่างไรก็ตามน้ำเป็นตัวล้างที่ดีที่สุดเสมอ
    5.   สนใจการปนเปื้อนที่ตาและผิวหนังที่เป็นบาดแผลก่อน  เมื่อทำความสะอาดแผลแล้วไม่ควรให้มีการปนเปื้อนอีก  โดยการปิดแผลด้วยผ้าปิดชนิดกันน้ำสำหรับสารเคมีบางชนิดเช่น ด่างชนิดแรงจะต้องล้างผิวหนังที่สัมผัสและตาด้วยน้ำหรือน้ำเกลือเป็นเวลานาน
    6.   การสัมผัสที่ตา ต้องเอา contact lens ออกและ irrigate ตานั้นด้วยน้ำหรือน้ำเกลือที่หยดจากชุดให้สารน้ำทางเลือดล้างโดยให้น้ำไหลจากหัวตาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไล่วัตถุแปลกปลอมเข้าไปในท่อน้ำตา            การใช้ยาชา เช่น  0.5  %  tetracaine  อาจมีความจำเป็นเพื่อลด blepharospasm พยายามหาเศษสารเคมีในบริเวณ  conjunctival sac  ดูค่าความเป็นกรดด่าง  และ irrigate  จน  pHได้  7  ถึง  7.5 และถ้ามีการปนเปื้อนที่จมูกด้วยต้องล้างและดูดออกบ่อยๆเพื่อป้องกันวัตถุแปลกปลอมเข้าไป ในรูจมูก 
    7.   การสัมผัสที่ผิวหนัง ให้ใช้น้ำล้างแรงๆที่ผิวหนังและผมประมาณ  3- 5นาที  ในกรณีที่เป็นสารน้ำมันหรือมีไขมัน หรือเป็นสารที่ติดผิวหนังต้องถูออกด้วยสบู่อ่อนหรือแชมพู ไม่ควรใช้น้ำร้อนหรือแปรงถูแรงๆเพราะทำให้เกิดรอยถลอกและเส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัวทำให้มีโอกาส ที่สารพิษจะถูกดูดซึมเข้าทางผิวหนังได้

    การดูผู้บาดเจ็บที่สัมผัสสารเคมีสำหรับพนักงานขับรถ
    เมื่อได้รับแจ้งให้ออกปฏิบัติหน้าที่กับทีม EMS ต้องทราบ

    1.   ข้อมูลเบื้องต้นของสารเคมีว่ามีอันตรายอย่างไร  ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นตามชนิด
    ของสารเคมี เช่น  ชุดป้องกันอันตราย  หน้ากากกรองสารเคมี  แว่นตา   ถุงมือ  รองเท้าบู๊ท
    2.   ควรศึกษาทิศทางลมว่าพัดจากไหนไปไหน  จะจอดรถที่ไหนจึงจะปลอดภัย
    3.   เมื่อไปถึงเวลาจอดรถให้จอดเอาหน้ารถออกเพื่อเตรียมพร้อม
    4.   หลังจากส่งผู้บาดเจ็บเสร็จแล้วให้ทำความสะอาดรถโดยล้างภายนอก และ ภายในรวมถึง
    อุปกรณ์ อื่นๆที่อยู่ในรถ เช่น  เปลผู้ป่วย  เบาะนั่ง  ฯลฯ ด้วยน้ำให้สะอาด  เปิดประตูหน้าผึ่ง     
    ลมให้แห้ง  สนิท

    การดูผู้บาดเจ็บที่สัมผัสสารเคมีสำหรับผู้ดูแลศพ

    1.   สวมถุงพลาสติกบรรจุศพหรือห่อด้วยพลาสติกให้มิดชิด  เพื่อป้องกันการ แพร่กระจายของ
    สารเคมี และติดป้ายแสดง “ ผู้เสียชีวิตจากสารเคมียังไม่ได้ล้างตัว”  
    2.   เมื่อเหตุการณ์สงบ  และห้องล้างตัวใช้ล้างตัวผู้บาดเจ็บจากสารเคมีที่มีชีวิตหมดแล้ว  จึงนำศพ
    มาชำระล้างร่างกายให้สะอาด 

    เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








    Facebook