Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก

  มรรถภาพการได้ยิน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ได้
กำหนดระดับเสียงต่อเนื่องที่ยอมให้สัมผัสได้ ดังนี้

  • ไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 91 db
  • เกินกว่าวันละ 7 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 8 ชั่วโมง และ ไม่เกิน      90 db
  • เกินวันละ 8 ชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกิน 80 db

ารสูญเสียการได้ยิน ที่เกิดจากเสียงดังนั้นมี 2 ชนิดได้แก่

การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว (Temporary hearing loss)
      ซึ่งมักเกิดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกของการทำงาน และพบว่ากลับคืนสู่สภาพเดิมได้ใน 14-16 ชั่วโมง ภายหลังหยุดการสัมผัสเสียง
การสูญเสียแบบถาวร (Permanent hearing loss)
      เกิดขึ้นเมื่อหูได้ยินเสียงที่มีความเข้มสูงมากเป็นประจำ เป็นระยะเวลาหลายปี เกิดจากการทำลาย Cell รับเสียง ซึ่งจะไม่มีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติได้
 การตรวจสมรรถภาพการได้ยินเป็นระยะ ๆ ในกลุ่มเสี่ยงโดยตรวจหา Air conduction  hearing threshold โดยเครื่อง audiometer  เป็นส่วนหนึ่งในการเฝ้าระวังโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียง ซึ่งต้องคำนึงถึงความถูกต้อง แม่นยำ ของการตรวจ โดยเครื่องต้องได้รับการ calibrate อย่างน้อยปีละครั้ง สถานที่ที่ใช้เป็นห้องตรวจปราศจากเสียงรบกวน

วัตถุประสงค์การตรวจการได้ยินในโรงงาน

  1. เป็นข้อมูลพื้นฐานในคนงานเข้าใหม่
  2. เป็นการค้นหาปัญหาการสูญเสียการได้ยิน ในระยะเริ่มต้น เพื่อจะได้รับการปรับปรังแก้ไข สภาพแวดล้อมทางเสียง  
  3. และการใช้เครื่องป้องกัน เสียง(ear plug ,ear muff) อย่างเคร่งครัดต่อไป
    เพื่อติดตามผลระบบควบคุมป้องกันด้านสิ่งแวดล้อม

ารแปลผลสมรรถภาพการได้ยิน
     มีหลายเกณฑ์ตามลักษณะการนำไปใช้ ดังนี้

แบบที่ 1  การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินก่อนเข้างาน(Pre Placement) เพื่อเป็น Baseline ใช้เปรียบเทียบกับปีต่อ ๆไป โดยจะคิดค่าเฉลี่ยการได้ยิน(db) ที่ความถี่ 500,1000,2000, และ 3000 Hertz (AV.SHL.) และที่ความถี่ 4000 และ 6000 Hertz (AV.NIHL.) ถ้ามีค่าเกิน 30- 45 db ไม่ควรรับเข้าทำงานในแผนกที่ต้องสัมผัสเสียงดัง

แบบที่ 2  การทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินประจำปี (Periodic Exam) เพื่อเปรียบเทียบว่ามีความเสื่อมของการได้ยินหรือไม่ โดยจะคิดค่าเฉลี่ยการได้ยิน(db) ที่มีค่าความถี่ 2000,3000 และ 4000 Hertz (AV.STS.) ถ้าเสื่อมลงจากเดิมเกิน 10 (db) ถือว่าผิดปกติ ควรได้รับการตรวจซ้ำภายใน 1 –3 เดือน

แบบที่ 3  การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินแบบทั่วไป จะแบ่งกลุ่มผิดปกติ ทางการได้ยิน ตามกลุ่มความถี่ดังนี้

กลุ่มที่ 1   การได้ยินปกติของหูทั้งสองข้าง

กลุ่มที่ 2   (2.1,2.2 และ 2.3 ) การได้ยินลดลงเฉพาะในช่วงความถี่สูง(3,000-8,000 Hz) 
แต่การได้ยินความถี่เสียงพูดคุย (500-2,000 Hz)  ปกติจึงไม่มีปัญหาการรับฟังเสียง
พูดคุยในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน ดังนั้นจึงควรใช้            
อุปกรณ์ลดเสียง(Ear plug / Ear muff) อย่างเคร่งครัดเพราะถ้าหูเสื่อมถาวรแล้วไม่
สามารถรักษาให้หายได้

กลุ่มที่ 3   การได้ยินในช่วงความถี่สูงรวมทั้งค่าเฉลี่ยการได้ยิน ในช่วงความถี่เสียงพูดคุยก็ลดลงด้วย
อาจทำให้การรับฟังเสียงพูดคุยผิดปกติไป จึงควรใช้อุปกรณ์ลดเสียงอย่างเคร่งครัด

กลุ่มที่ 4   การได้ยินลดลงในช่วงความถี่สูงพูดคุยหรือทุกช่วงความถี่ของหูข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสอง   
ข้างเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกี่ยวกับเยื่อแก้วหู หูชั้นกลางอักเสบ หูอื้อหรือจากสาเหตุ
อื่นๆ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพราะอาจสามารถรักษา
หายได้้

หมายเหตุ : ความผิดปกติกลุ่ม 2 และ 3 เกิดจากการสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน โดยกลุ่ม 3 มีความรุนแรงมากขึ้นกว่ากลุ่ม 2

จะทำอย่างไรเมื่อผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินออกมาผิดปกติ

อันตรายจากเสียง

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook