คุณอยู่ที่นี่
การจัดสถานที่-พื้นที่ในการปฏิบัติงาน
ใช้พื้นที่ในห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินทั้งหมด หน้าห้องฉุกเฉินและหลังห้องบัตรในการดูแลและถ้ามีผู้บาดเจ็บในเวลาราชการ
การปฏิบัติงานของบุคลากรตามอุบัติภัยสาธารณภัยแผน 2
ในเวลาราชการ
ด้านบุคลากร ประกอบด้วย
-
1. แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่และคนงานห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
2. แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ คนงาน OPD และพนักงานเปล
3. แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆที่สามารถมาช่วยได้
** กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมี เพิ่ม พยาบาลงานอาชีวเวชกรรมให้คำแนะนำและสอบสวนโรค และสนับสนุนข้อมูลสารเคมีข้อมูลในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นและต่อเนื่อง และการป้องกันอันตรายจากสารเคมีขณะปฏิบัติงาน
การปฏิบัติหน้าที่
1. แพทย์ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีหน้าที่ตรวจรักษาผู้บาดเจ็บรวมทั้งรับผิดชอบออกใบรับรองแพทย์ ใบชันสูตรบาดแผล และใบคดีทั้งหมด
2. แพทย์ห้องตรวจ 1 และพยาบาลคัดกรอง ทำหน้าที่คัดกรองผู้บาดเจ็บที่จุดคัดกรอง
3. แพทย์ทุกท่านช่วยตรวจรักษาผู้บาดเจ็บทั้งหมด
4. พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน นำทีมให้การพยาบาล ผู้บาดเจ็บอาการสาหัส หัวหน้างาน / หัวหน้าเวรห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อชันสูตรพลิกศพในกรณี ผู้บาดเจ็บเสียชีวิตและรับผิดชอบเก็บทรัพย์สินของผู้บาดเจ็บเมื่อเหตุการณ์สงบควบคุมดูแลความเรียบร้อยทั้งหมด เขียนรายงานอุบัติภัยสาธารณภัยและส่งรายชื่อให้กับประชาสัมพันธ์/เจ้าหน้าที่ห้องบัตรทันที และส่งรายงานที่กลุ่มการพยาบาลในวันทำการถัดไป
5. พยาบาลOPD และเจ้าหน้าที่อื่นๆช่วยดูแลผู้บาดเจ็บหน้าห้องฉุกเฉินและหลังห้องบัตรให้การพยาบาล ผู้บาดเจ็บตามลำดับความรุนแรง และช่วยนำส่งผู้บาดเจ็บอาการสาหัสหรือผู้บาดเจ็บที่ต้องเฝ้าระวังไป หอผู้ป่วย/ส่งต่อ พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
6. พนักงานประชาสัมพันธ์/เจ้าหน้าที่ห้องบัตรทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บทั้งหมด ตรวจสอบรายชื่อช่วยประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานอื่นตามที่พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ
7. กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมี
7.1 พยาบาลห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 1 คนและเวชกรฉุกเฉิน 1 คนทำหน้าที่ล้างตัว (Decontaminate)
7.2 พยาบาลงานอาชีวอนามัย หลังได้รับแจ้งตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลชื่อสารเคมีสืบค้นข้อมูลของสารเคมี และร่วมประเมินสถานการณ์สนับสนุนข้อมูลให้กับแพทย์ผู้รักษาและพยาบาลที่ดูแลผู้บาดเจ็บ โดยติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร.1367หรือ
ศูนย์ พิษวิทยา ร.พ.ศิริราช โทร 02-419-7007 หรือ http://drug.nhso.go.th/Antidotes/
การปฏิบัติงานของบุคลากรตามอุบัติภัยสาธารณภัยแผน 2
นอกเวลาราชการ
ด้านบุคลากร ประกอบด้วย
-
1. แพทย์ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
2. แพทย์เวรคลินิกนอกเวลา
3. พยาบาลและเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่งในหอผู้ป่วยต่างๆที่สามารถออกมาช่วยปฏิบัติงานได้
การปฏิบัติหน้าที่
1. แพทย์ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีหน้าที่ตรวจรักษาผู้บาดเจ็บรวมทั้งรับผิดชอบออกใบรับรองแพทย์ ใบชันสูตรบาดแผล และใบคดีทั้งหมด
2. แพทย์เวรคลินิกนอกเวลาช่วยตรวจรักษาผู้บาดเจ็บทั้งหมด
3. พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน นำทีมให้การพยาบาล ผู้บาดเจ็บสาหัส หัวหน้าเวรห้องอุบัติเหตุ และฉุกเฉินประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อชันสูตรพลิกศพในกรณีผู้บาดเจ็บเสียชีวิตรับผิดชอบเก็บทรัพย์สินของ ผู้บาดเจ็บ เมื่อเหตุการณ์สงบควบคุมดูแลความเรียบร้อยทั้งหมด เขียนรายงานอุบัติภัยสาธารณภัย และส่งรายชื่อให้กับเจ้าหน้าที่ห้องบัตรทันที และส่งรายงานที่กลุ่มการพยาบาลในวันทำการถัดไป
4. พยาบาลOPD และเจ้าหน้าที่อื่นๆช่วยดูแลผู้บาดเจ็บหน้าห้องฉุกเฉินและหลังห้องบัตรให้การพยาบาล ผู้บาดเจ็บตามลำดับความรุนแรง และช่วยนำส่งผู้บาดเจ็บอาการสาหัสหรือผู้บาดเจ็บที่ต้องเฝ้าระวังไป หอผู้ป่วย/ส่งต่อ พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิต
5. พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 1 คนทำหน้าที่คัดกรองผู้บาดเจ็บที่จุดคัดกรองผู้บาดเจ็บ
6. เจ้าหน้าที่ห้องบัตรทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อผู้บาดเจ็บทั้งหมด ตรวจสอบรายชื่อ ช่วยประสานงาน
ติดต่อกับหน่วยงานอื่นตามที่พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ
7. กรณีเป็นอุบัติภัยจากสารเคมี
7.1 พยาบาลห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน 1 คนและเวชกรฉุกเฉิน 1 คนทำหน้าที่ล้างตัว (Decontaminate)
7.2 พยาบาลห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เป็นผู้สืบค้นข้อมูล และติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมจากศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดี โทร.1367หรือศูนย์ พิษวิทยา ร.พ.ศิริราช โทร 02-419-7007 หรือhttp://drug.nhso.go.th/Antidotes/