Get Adobe Flash player

เมนู

ผลงานวิชาการ

Data Center

สำหรับเจ้าหน้าที่

ล็อกอิน

คุณอยู่ที่นี่

หน้าแรก

    ระยะก่อนเกิดภัย  ประกอบด้วย

  1. ดำเนินการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
  2. ประเมินความเสี่ยงของภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย โดยการประเมินภัยและความล่อแหลมเพื่อประเมินโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งศึกษาวิธีลดผลกระทบเพื่อนำไปกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการบริหารจัดการอุบัติภัยสารเคมีและวัตถุอันตราย
  3. สำรวจ ประเมิน ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมทั้งข้อมูลพื้นที่ปลอดภัยเพื่อรองรับการอพยพหากเกิดเหตุให้เป็นปัจจุบัน
  4. จัดทำฐานข้อมูลกำลังเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ทันทีหากเกิดภาวะฉุกเฉิน
  5. พัฒนาระบบเครือข่ายฐานข้อมูลสารสนเทศด้านสารเคมีและวัตถุอันตราย ให้มีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงาน
  6. บุคลากรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการรับมือกับอุบัติภัยสารเคมี                  
  7. สร้างเสริมความรู้ และความตระหนักแก่ประชาชน และเยาวชนเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ปลอดภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย
  8. จัดเตรียมระบบสื่อสารหลัก และระบบสื่อสารสำรอง ที่จำเป็น พร้อมทั้งจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์สื่อสารให้เพียงพอและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
  9. ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตรายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

    ระยะเกิดเหตุ  ประกอบด้วย

  1. มีการแจ้งเหตุเตือนภัยที่รวดเร็ว
  2. ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา
  3. มีระบบการประสานงาน / สื่อสารที่ชัดเจน
  4. บุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
  5. ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลทั้งในระยะฉุกเฉิน การส่งต่อ อย่างรวดเร็วและได้มาตรฐาน

    ระยะหลังเกิดเหตุ  ประกอบด้วย

  1. ได้รับการการเฝ้าระวัง สอบสวนโรค และดูแลสุขภาพกาย จิต อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและต่อเนื่อง
  2. ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยสารเคมีได้รับการชดเชย / เยียวยาที่เหมาะสม

แผนผังการเตรียมรับอุบัติภัยและสาธารณภัยโรงพยาบาลจะนะ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง








Facebook